วันศุกร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2561

ลุควิค ฟาน เบโธเฟน (Ludwig van Beethoven)

ลุดวิก ฟาน เบโธเฟน (Ludwig van Beethoven, Germany 1770 – 1827)



ชีวประวัติ
     ลุควิก ฟาน เบโธเฟน  กำเนิดในครอบครัวนักดนตรีที่เมืองบอนน์ (Bonn) ประเทศเยอรมันนี เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1770 และได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 1827 ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย
เบโธเฟนเติบโตมากับสภาพแวดล้อมทางดนตรี จึงทำให้เขารักงานด้านดนตรี เบโธเฟนเริ่มศึกษาดนตรี เช่น เปียโน, ไวโอลินและออร์แกน จากบิดาของเขา โจฮันน์ ฟาน เบโธเฟน (Johann van Beethoven) ตั้งแต่อายุ 4 ปี ดังรูปที่ 1 และได้ออกแสดงคอนเสิร์ตครั้งแรก ตอนอายุ 8 ปี ได้รับความชื่นชมจากผู้ฟังเป็นอย่างมาก

รูปที่1 เบโธเฟนวัยเด็ก


Neefe
รูปที่ 2 Christine Gottlob Neefe
       เบโธเฟนได้เริ่มเรียนดนตรีอย่างจริงจังกับ คริสเตียน กอทท์ลอบ นีฟ (Christine Gottlob Neefe) ดังรูปที่ 2 ได้เริ่มงานด้านดนตรีในตาแหน่งนักออร์แกนประจำโบสถ์ นักเปียโนและนักไวโอลินในตำแหน่งผู้ช่วยของนีฟ และต่อมาได้รับตาแหน่งหัวหน้าวงของวงดนตรีในสานักของเจ้าเมืองบอนน์ เบโธเฟนเริ่มประพันธ์เพลงสาหรับเปียโนเมื่ออายุ 12 ปี และเมื่ออายุ 16 ปี เบโธเฟนเดินทางมากรุงเวียนนาเพื่อที่จะฝึกหัดดนตรีและเล่นดนตรีให้กับโมซาร์ท ซึ่งเมื่อโมซาร์ทฟังแล้วได้กล่าวว่า…. จงคอยดูเด็กคนนี้ให้ดี วันหนึ่งเขาจะดังก้องไปทั่วโลก (“Keep your eyes on him; somebody he will give the world something to talk about”) โมซาร์ทมีความชื่นชมในความสามารถทางด้านดนตรีของเบโธเฟน และยังกล่าวอีกว่าเบโธเฟนจะประสบความสาเร็จในโลกดนตรีต่อไป
       หลังจากนั้นเบโธเฟนเดินทางกลับมายังเมืองบอนน์และทางานในเป็นนักออร์แกนและไวโอลิน ในขณะเดียวกันก็ประพันธ์เพลงไปด้วย จนกระทั่งอายุ 22 ปี เบโธเฟนย้ายมาอยู่ที่กรุงเวียนนาด้วยความตั้งใจที่จะหาชื่อเสียงในการเล่นดนตรีและประพันธ์เพลง เขามีโอกาสได้ศึกษาดนตรีกับ Franz Joseph Haydn, Johann Albrechtsberger (1736 – 1809), Johnn Schenk (1753 – 1836) และ Antonio Salieri (1750 – 1825) เบโธเฟนมีความตั้งใจที่จะมุ่งมั่นหาชื่อเสียงในการเล่นดนตรีและประพันธ์เพลงต่างๆ ตามความสามารถของเขาให้ดีที่สุด ซึ่งลักษณะงานดนตรีของเบโธเฟนเต็มไปด้วยลีลาและความรู้สึกที่ระบายออกอย่างรุนแรงและงดงาม เบโธเฟนได้ตระเวนแสดงดนตรีตามแนวของเขาจนทำให้เขามีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั่วกรุงเวียนนา มีลูกศิษย์มาเรียนดนตรีกับเขามากขึ้น และด้วยความสามารถทางดนตรีของเบโธเฟน ทาให้ได้รับการอุปถัมภ์จากหมู่ชนชั้นสูงอยู่เรื่อยมา
       ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1800 เป็นต้นมา เบโธเฟนหันไปมุ่งเอาดีทางด้านการประพันธ์ และเริ่มประพันธ์เพลงที่สะท้อนถึงความรู้สึกนึกคิดที่เต็มไปด้วยการแสดงออกของอารมณ์อย่างชัดเจน เพลงของเขาแสดงออกมาอย่างเสรีและแหวกแนว ไม่ตรงกับแบบแผนและกฏเกณฑ์ จึงถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า…. “เป็นนักดนตรีที่นอกแบบแผน ทาให้เกิดอันตรายต่อศิลปะทางดนตรี” แต่อย่างไรก็ตามผลงานก็ยังถูกซื้อและตีพิมพ์จาหน่ายหมดอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นไม่นานเบโธเฟนต้องประสบกับปัญหาเกี่ยวกับระบบการได้ยิน เขาเริ่มมีอาการไม่ได้ยินเป็นระยะ
จนกระทั้งปี ค.ศ. 1819 เบโธเฟนได้หยุดการแสดงคอนเสิร์ตในที่สาธารณะและเริ่มเก็บตัวอยู่ที่เมืองเฮลิเกนสตัดท์ (Heiligenstadt) แต่ด้วยความเป็นอัจฉริยะทางดนตรี เบโธเฟนตั้งปณิธานว่า… “ฉันจะไม่ยอมสยบให้แก่ความเคราะห์ร้ายเป็นอันขาด” เบโธเฟนตัดสินใจเดินทางกลับมากรุงเวียนนาและได้สร้างสรรค์ผลงานทางดนตรีต่ออย่างมากมาย ตัวอย่างเช่น Symphony no. 3 (Eroica) เป็นบทแรกที่เบโธเฟนใส่อารมณ์และความรู้สึกอย่างรุนแรง โดยละทิ้งหลักเกณฑ์ยุคคลาสสิค แนวเพลงของไฮเดินและโมซาร์ทโดยสิ้นเชิง นับว่าเป็นสัญลักษณ์ของบทเพลงยุคโรแมนติก
       ในงานแสดงคอนเสิร์ตครั้ง Symphony no. 9 ปี ค.ศ. 1824 ณ กรุงเวียนนา เบโธเฟนทาหน้าที่กากับเพลงและควบคุมวงดนตรีด้วยตนเอง ดังรูปที่ 3 สร้างความประทับใจและได้รับเสียงปรบมืออย่างล้นหลามและนี่คือการปรากฏตัวต่อหน้าสาธารณชนครั้งสุดท้ายของเขา  เบโธเฟนเสียชีวิตด้วยอายุเพียง 57 ปี แต่อย่างไรก็ตามผลงานของเบโธเฟนได้รับการยกย่องในเรื่องการสร้างสรรค์ผลงานทางดนตรีในรูปแบบใหม่จากยุคคลาสสิคมาสู่ยุคโรแมนติก ด้วยความตั้งใจและความเป็นอัจฉริยะทางด้านดนตรี เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ประพันธ์เพลงที่ยิ่งใหญ่ตลอดกาล
ลักษณะและผลงานทางดนตรี
       หลังจากประสบปัญหาเกี่ยวกับการได้ยิน เบโธเฟนได้หันมามุ่งมั่นในด้านการประพันธ์เพลงมากขึ้น เขามีแนวคิดและพัฒนาในการประพันธ์มาเรื่อยๆจนได้รูปแบบใหม่ คือยังคงใช้รูปแบบและเทคนิคของการประพันธ์เพลงในยุคคลาสสิค แต่ได้เพิ่มพลังความเข้มข้นลงไป ทาให้ดนตรีในสมัยที่ไฮเดินและโมซาร์ทประพันธ์ไว้เปลี่ยนมาเป็นรูปแบบใหม่
ลักษณะงานของเบโธเฟน คือ การใช้จังหวะขัด (Syncopation) และการใช้เสียงที่ไม่กลมกลืน (Dissonance) ในการสร้างความตึงเครียดและความตื่นเต้นในบทเพลง มีการใช้ช่วงกว้างของเสียง (range) และความดัง-ค่อย (dynamic) มีมากกว่าในเพลงยุคก่อนๆ เมื่อดังจะดังมาก และเมื่อเบาจะเบาจนแทบไม่ได้ยิน หลายครั้งเบโธเฟนใช้ความเงียบทาให้เกิดความตึงเครียดด้วย ส่งผลให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกและอารมณ์มากกว่าดนตรียุคคลาสสิค นอกจากนี้สิ่งที่เบโธเฟนใช้เพื่อทาให้เพลงมีพลังขึ้นมา คือ การเน้นเสียง (Accent) และการใช้แนวคิดเรื่องเกี่ยวกับรูปแบบจังหวะสั้นๆ ซ้าๆ ต่อเนื่องกันหลายๆ
ครั้ง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ Symphony no. 5 ในท่อนแรก เบโธเฟนยังใช้การประสานเสียงที่แตกต่างจากยุคคลาสสิคได้แก่ การใช้คอร์ดที่ไม่ใช่ Triad ขึ้นต้นบทเพลง เพื่อช่วยเพิ่มความมีพลัง ความหนักแน่นมากขึ้น ในการสร้างความตึงเครียดที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้นตั้งแต่ต้นเพลงเช่นนี้ ทาให้เพลงมีความยาวมากขึ้น เบโธเฟนจึงเป็นผู้ที่นารูปแบบคลาสลิคมาใช้ แต่ได้ขยายให้แต่ละตอนหรือบางตอนมีความยาวมากขึ้น ตัวอย่างเช่น Symphony No. 3 ที่มีความยาวประมาณ 50 นาที ในขณะที่ซิมโฟนีในสมัยของไฮเดินและโมซาร์ทมักมีความยาวประมาณ 25 – 35 นาทีเท่านั้น นอกจากนี้ในช่วงปิดท้าย (Coda) ของสังคีตลักษณ์โซนาตา เบโธเฟนได้พัฒนาแนวความคิดส่วนนี้จนเป็นส่วนที่สาคัญ มีแนวทานองใหม่เกิดขึ้นเพื่อทาให้บทเพลงจบลงอย่างสมบูรณ์ และยิ่งไปกว่านี้รูปแบบที่เบโธเฟนได้พัฒนาขึ้นอีกอย่าง คือ สเกิร์ตโซ (Scherzo) โดยทั่วไปในยุคคลาสสิคท่อนนี้จะใช้มินูเอต ซึ่งเป็นลักษณะของเพลงเต้นรา ที่มีลักษณะเร็ว สดใส ไม่หนักแน่นจริงจัง แต่สเกิร์ตโซของเบโธเฟนจะมีความหนักแน่น มีพลัง จริงจังและสง่างาม สิ่งที่เบโธเฟนพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยส่งเสริมพลังความเข้มข้น คือการเพิ่มเครื่องดนตรีแต่ละประเภทให้มากขึ้น วงออร์เคสตราในสมัยของเบโธเฟนจึงมีขนาดใหญ่กว่าเดิม ทาให้บทเพลงมีเสียงดังมากกว่าแต่ก่อน แสดงพลังความรู้สึกได้มากกว่า
       ผลงานของเบโธเฟนแบ่งได้เป็นสามระยะ ตามลักษณะดนตรีที่แตกต่างกัน ระยะแรก (1780 – 1802) ใช้รูปแบบการประพันธ์เพลงของดนตรียุคคลาสสิคอย่างเด่นชัด ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากไฮเดินและโมซาร์ท ระยะที่สอง (1802 – 1816) เบโธเฟนแสดงความเป็นตัวของตัวเองออกมาอย่างเด่นชัด รูปแบบการประพันธ์มีการพัฒนาอย่างสง่างามมากขึ้น ความยาวในแต่ละส่วนแต่ละตอนมีมากกว่าเพลงในยุคแรก วงออร์เคสตราปรับปรุงเพิ่มจานวนเครื่องดนตรีให้มากขึ้น เพราะต้องการแสดงถึงความมีพลัง ความยิ่งใหญ่ ชัยชนะ การประสานเสียงโดยใช้คอร์แปลกๆ มากขึ้น จัดได้ว่าเป็นผลงานเพลงที่แตกต่างจากยุคคลาสสิคอย่างชัดเจน ระยะที่สาม (1816 – 1827) เป็นช่วงที่เบโธเฟนเปลี่ยนแนวการประพันธ์ไป เนื่องจากต้องการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ขึ้นมา ผลงานในช่วงท้ายมักจะแสดงออกถึงความเข้มแข็ง ไม่นุ่มนวลมากนักและหลายบทเพลงไม่เป็นที่รู้จัก ผลงานของเบโธเฟนประกอบด้วย ซิมโฟนี 9 บท เปียโนคอนแชร์โต 5 บท ไวโอลินคอนแชร์โต 1 บท โอเปรา 1 เรื่อง สติงควอเตท 16 บท เปียโนโซนาตา 32 บทและผลงานสาคัญอีกจานวนมาก นับว่าเบโธเฟนเป็นผู้เชื่อมต่อระหว่างยุคคลาสสิคและยุคโรแมนติกเข้าด้วยกันอย่างแท้จริง
ตัวอย่างบทเพลงของเบโธเฟน
เพลง  Symphony no.3 (Eroica)