วันอังคารที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2560

Wine

ไวน์

ไวน์แดง (หน้า) และไวน์ขาว (หลัง) บนโต๊ะอาหาร
ไวน์ (อังกฤษwine) เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำจากองุ่นหรือผลไม้อื่นหมัก สมดุลเคมีธรรมชาติขององุ่นทำให้มันหมักโดยไม่ต้องเพิ่มน้ำตาล กรด เอ็นไซม์ น้ำหรือสารอาหารอื่น ยีสต์บริโภคน้ำตาลในองุ่นแล้วเปลี่ยนเป็นเอทานอลและคาร์บอนไดออกไซด์ พันธุ์ขององุ่นและสายพันธุ์ของยีสต์ที่ต่างกันทำให้ได้ไวน์คนละแบบ แบบที่รู้จักกันดีเกิดจากอันตรกิริยาที่ซับซ้อนยิ่งระหว่างการเจริญทางชีวเคมีของผลไม้ ปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องในการหมัก แหล่งที่ปลูก (terrior) และการระบุแหล่ง (appellation) ตลอดจนการแทรกแซงของมนุษย์ในกระบวนการโดยรวม

ประวัติแก้ไข


เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าไวน์เป็นเครื่องดื่มที่มีมาหลายพันปีแล้ว มีการค้นพบโถโบราณบรรจุเมล็ดองุ่นไร่ซึ่งมีอายุนับเนื่องขึ้นไปกว่า 8,000 ปี ก่อนคริสตกาล
นอกจากที่ประเทศอิหร่านแล้ว ยังมีการพบร่องรอยของเครื่องดื่มชนิดหนึ่งที่ได้จากกรรมวิธีการหมักแบบเดียวกับไวน์ในสมัย 7,000 ปีก่อนคริสตกาล ทางตอนเหนือของประเทศจีน
ในยุคอียิปต์โบราณ การเพาะปลูกองุ่นเพื่อทำไวน์มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบระเบียบมาก เทพต่าง ๆ ในตำนานเทพปกรณัม ทั้งโอซิริสของอียิปต์ เทพไดโอนีซุสของกรีก บัคคัสของโรมัน หรือกิลกาเมชของบาบิโลน ล้วนแล้วแต่เป็นเทพแห่งไวน์ นอกจากนั้น ไวน์ยังเป็นสัญลักษณ์ของพระโลหิตของพระเยซูเจ้าตามความเชื่อทางศาสนาคริสต์ ไวน์มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเป็นอันมากในช่วงสองร้อยปีหลัง ชาวโรมันในสมัยก่อนนั้นดื่มไวน์ที่มีรสฉุนจนต้องผสมน้ำทะเลก่อนดื่ม รสชาติของไวน์ดังกล่าวแตกต่างจากไวน์ในปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง
ในสมัยศตวรรษที่ 19 ไวน์ถือว่าเป็นเครื่องดื่มบำรุงกำลัง โดยคนงานที่รับจ้างเก็บเกี่ยวพืชผลจะดื่มไวน์ถึงวันละ 6-8 ลิตร และนายจ้างจะจ่ายไวน์ให้เป็นส่วนหนึ่งของค่าแรง เพราะสมัยนั้นน้ำยังไม่ค่อยสะอาดพอที่จะนำมาดื่มได้

เครื่องบิน concorde

คองคอร์ด

เครื่องบินคองคอร์ด
เครื่องบินคองคอร์ด (อังกฤษConcorde) เป็นเครื่องบินขนส่งชนิดมีความเร็วเหนือเสียง เป็นหนึ่งในสองแบบของเครื่องบินเร็วเหนือเสียงที่ใช้เป็นเครื่องบินโดยสาร และนำมาให้บริการในเชิงพาณิชย์ โดยใช้เวลาศึกษาวิจัยเป็นเวลา 7 ปี เครื่องคองคอร์ดต้นแบบเครื่องแรกบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 มีนาคม ค.ศ. 1969 ทดสอบและพัฒนาอีก 4 ปี โดยคองคอร์ดเครื่องแรกออกจากสายการผลิตและเริ่มบินทดสอบเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 1973 รวมตั้งแต่เริ่มโครงการจนนำมาผลิตใช้เวลากว่า 13 ปีเต็มใช้เงินในการพัฒนากว่า 1,000 ล้านปอนด์ [1]
เครื่องบินคองคอร์ดมีความเร็วปกติ 2,158กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเพดานบินสูงสุด 60,000 ฟุต (18.288กิโลเมตร) มีปีกสามเหลี่ยม
การบินเชิงพาณิชย์ของคองคอร์ด ดำเนินการโดยบริติชแอร์เวย์ (British Airways) และแอร์ฟรานซ์ (Air France) เริ่มต้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 1976 และสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 2003 และมีเที่ยวบิน “เกษียณอายุ” เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 2003 เที่ยวบินลอนดอน-นิวยอร์ก และปารีส-นิวยอร์ก ใช้เวลาเดินทางเฉลี่ยประมาณ 3 ชม.
เครื่องบินคองคอร์ด มีข้อจำกัดในการออกแบบด้านพลศาสตร์ ซึ่งส่วนหัวของเครื่องบินจะต้องเชิดขึ้น ส่งผลให้ทัศนวิสัยของนักบินไม่ดี ผู้ออกแบบได้แก้ไขโดยเพิ่มกลไกปรับส่วนหัวของเครื่องบิน ให้กดลงมา เพื่อให้นักบินมองเห็นสนามบินขณะเครื่องบินขึ้น ลงจอด และขณะอยู่บนแทกซี่เวย์ ส่วนหัวของคองคอร์ดปรับทำมุมกดได้ 12.5°
เครื่องบินคองคอร์ด มีทั้งสิ้น 20 ลำ เป็นเครื่องที่ใช้ในการพัฒนา 6 ลำ ใช้งานเชิงพาณิชย์ 14 ลำ ตก 1 ลำ

วันจันทร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2560

Oktobrefest

อ็อกโทเบอร์เฟสต์ (เยอรมันOktoberfest) เป็นเทศกาลประจำปี จัดขึ้นเป็นเวลา 16 วัน ในเมืองมิวนิกประเทศเยอรมนี จัดขึ้นปลายเดือนกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคม ถือเป็น 1 ในเทศกาลที่มีชื่อเสียงที่สุดในเยอรมนีและเป็นเทศกาลที่ใหญ่ที่สุดของโลก กับผู้เข้าร่วมเทศกาล 6 ล้านคนทุกปี และมีความสำคัญต่อวัฒนธรรมของบาเยิร์น เทศกาลดั้งเดิมจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 1810 โดยจัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองงานอภิเษกสมรสระหว่างมกุฎราชกุมารลุดวิคกับเจ้าหญิงเทเรซ
เทศกาลอ็อกโทเบอร์เฟสต์ จัดขึ้นเป็นเวลา 16 วัน จนถึงในวันอาทิตย์แรกของเดือนตุลาคม ในปี ค.ศ. 1994 มีการปรับเปลี่ยนเวลาหลังการรวมตัวของเยอรมนีตะวันตก-ออก ว่าถ้าวันอาทิตย์แรกของเดือนตุลาคม ตกที่วันที่ 1 หรือ 2 เทศกาลจะไปต่อถึงวันที่ 3 ตุลาคม (วันรวมประเทศ) ทำให้มีจำนวนวัน 17 วัน หากวันอาทิตย์เป็นวันที่ 2 และเป็น 18 วันหากวันอาทิตย์เป็นวันที่ 1 เทศกาลจัดขึ้นในบริเวณที่เรียกว่า Theresienwiese หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Wiesn
นักท่องเที่ยวมักจะมาเที่ยวเทศกาลกินอาหารอย่างเช่น ไก่ (Hendl) หมูย่าง (Schweinsbraten) ข้อหมู (Haxn) ปลาปิ้งเสียบไม้ (Steckerlfisch) ไส้กรอก (Würstl) ร่วมกับ ขนมปังอบ (Brezn) มะเขือเทศหรือขนมปังก้อน (Knödeln) เส้นหมี่เนย (Kaasspotzn) แพนเค้กมะเขือเทศ (Reiberdatschi) Sauerkraut หรือ Rotkraut (กะหล่ำปลีแดง) ร่วมไปกับอาหารบาเยิร์น อย่าง Obatzda และ ไส้กรอกขาว (Weisswurst)

วันพฤหัสบดีที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2560

เพลง There you'll be

เนื้อเพลง There You’ll Be คำอ่านไทย Faith Hill

-------Advertiesment--------
When I think back
(เว็น นาย ตริ๊งค แบ็ค)
On these times
(ออน ดีซ ไทม์)
And the dreams
(แอนด์ เดอะ ดรีม)
We left behind
(วี เล๊ฟท บีฮายน์)
I’ll be glad ’cause
(แอล อีส แกล๊ด ค๊อส)
I was blessed to get
(ไอ วอส เบล๊ส ทู เก็ท)
To have you in my life
(ทู แฮพ ยู อิน มาย ไล๊ฟ)
When I look back
(เว็น นาย ลุ๊ค แบ็ค)
On these days
(ออน ดีซ เดย์)
I’ll look and see your face
(แอล ลุ๊ค แกน ซี ยัวร์ เฟซ)
You were right there for me
(ยู เวีย ไร๊ท แดร์ ฟอร์ มี)
[Chorus:]
In my dreams
(อิน มาย ดรีม)
I’ll always see you soar
(แอล ออลเว ซี ยู ซอร์)
Above the sky
(อะโบ๊ฝ เดอะ สกาย)
In my heart
(อิน มาย ฮาร์ท)
There will always be a place
(แดร์ วิล ออลเว อีส อะ เพลส)
For you for all my life
(ฟอร์ ยู ฟอร์ ออล มาย ไล๊ฟ)
I’ll keep a part
(แอล คี๊พ อะ พาร์ท)
Of you with me
(ออฟ ยู วิธ มี)
And everywhere I am
(แอนด์ เอวี่แวร์ ไอ แอม)
There you’ll be
(แดร์ โยว อีส)
And everywhere I am
(แอนด์ เอวี่แวร์ ไอ แอม)
There you’ll be
(แดร์ โยว อีส)
Well you showed me
(เวลล ยู โชว์ มี)
How it feels
(ฮาว อิท ฟีล)
To feel the sky
(ทู ฟีล เดอะ สกาย)
Within my reach
(วิธติน มาย รี๊ช)
And I always
(แอนด์ ดาย ออลเว)
Will remember all
(วิล รีเม๊มเบ่อร์ ออล)
The strength you
(เดอะ สเต๊ง ยู)
Gave to me
(กีฟ ทู มี)
Your love made me
(ยัวร์ เลิฟ เมด มี)
Make it through
(เม้ค กิด ตรู)
Oh, I owe so much to you
(โอ้ , ไอ โอว์ โซ มัช ทู ยู)
You were right there for me
(ยู เวีย ไร๊ท แดร์ ฟอร์ มี)
[adsense]
[Chorus:]
In my dreams
(อิน มาย ดรีม)
I’ll always see you soar
(แอล ออลเว ซี ยู ซอร์)
Above the sky
(อะโบ๊ฝ เดอะ สกาย)
In my heart
(อิน มาย ฮาร์ท)
There will always be a place
(แดร์ วิล ออลเว อีส อะ เพลส)
For you for all my life
(ฟอร์ ยู ฟอร์ ออล มาย ไล๊ฟ)
I’ll keep a part
(แอล คี๊พ อะ พาร์ท)
Of you with me
(ออฟ ยู วิธ มี)
And everywhere I am
(แอนด์ เอวี่แวร์ ไอ แอม)
There you’ll be
(แดร์ โยว อีส)
And everywhere I am
(แอนด์ เอวี่แวร์ ไอ แอม)
There you’ll be
(แดร์ โยว อีส)
‘Cause I always saw in you
(ค๊อส ไอ ออลเว ซอว์ อิน ยู)
My light, my strength
(มาย ไล๊ท , มาย สเต๊ง)
And I want to thank you
(แอนด์ ดาย ว้อนท ทู แทร๊งค ยู)
Now for all the ways
(นาว ฟอร์ ออล เดอะ เวย์)
You were right there for me
(ยู เวีย ไร๊ท แดร์ ฟอร์ มี)
You were right there for me
(ยู เวีย ไร๊ท แดร์ ฟอร์ มี)
For always
(ฟอร์ ออลเว)
[Chorus:]
([ค๊อรัส : ])
In my dreams
(อิน มาย ดรีม)
I’ll always see you soar
(แอล ออลเว ซี ยู ซอร์)
Above the sky
(อะโบ๊ฝ เดอะ สกาย)
In my heart
(อิน มาย ฮาร์ท)
There will always be a place
(แดร์ วิล ออลเว อีส อะ เพลส)
For you for all my life
(ฟอร์ ยู ฟอร์ ออล มาย ไล๊ฟ)
I’ll keep a part
(แอล คี๊พ อะ พาร์ท)
Of you with me
(ออฟ ยู วิธ มี)
And everywhere I am
(แอนด์ เอวี่แวร์ ไอ แอม)
There you’ll be
(แดร์ โยว อีส)
And everywhere I am
(แอนด์ เอวี่แวร์ ไอ แอม)
There you’ll be
(แดร์ โยว อีส)
There you’ll be
(แดร์ โยว อีส)

วันพุธที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

เทศกาลประจำปีที่น่าเที่ยวของฝรั่งเศส

Carnival de Nice Le
งานคาร์นิวัลที่เมืองนีซ นั้นเป็นหนึ่งในงานคาร์นิวัลหลักๆ ของโลก นอกจาก งานคาร์นิวัลที่บลาซิล และ งานคาร์นิวัลที่เวนิช อิตาลี เลยทีเดียว ซึ่งงานนี้จะจัดขึ้นทุกๆ ปีประมาณเดือน กุมพาพันธ์ ใน เมือง นีซ ประเทศ ฝรั่งเศส 
จากบันทึกแสดงให้เห็นว่า งานคาร์นิวัลนี้มีมาตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1294 โดย ท่านเคาท์แห่งปรอแวนส์ (Count of Provence ) ได้จัดงานเฉลิมฉลองขึ้น จึงมีการสันนิฐานว่าเป็นจุดกำเนิดของงานคาร์นิวัลที่เมืองนิซแห่งนี้ โดยแต่ละปี งานคาร์นิวัลที่เมืองนีซมีนักท่องเที่ยวเข้ามาชมมากว่า 1,000,000 คนต่อดี ซึ่งมีการจัดงานยาวถึง 2 สัปดาห์เลยทีเดียว


Le Festival de Cannes 
เทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ เป็นเทศกาลภาพยนตร์ที่มีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1946 ถือเป็นเทศกาลภาพยนตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกเทศกาลหนึ่ง และมีอิทธิพลมากที่สุดรวมถึงชื่อเสียง เทียบเคียงกับเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวนิสและเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเบอร์ลิน และเป็นเทศกาลภาพยนตร์ที่ไม่เฉพาะภาพยนตร์ที่เป็นกระแสเหมือนกับ Holly woods แต่เป็นงานที่เปิดโอกาสให้กับภาพยนต์สั้นของผู้จัดทำภาพยนตร์อิสระ งานจัดขึ้นประจำปี ราวเดือนพฤษภาคม ที่ Palais des Festivals et des Congr?s ในเมืองคานส์ ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส

Ferias de Nimes 
งานเทศกาลที่เมืองนิมส์ เป็นการจัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองให้กับความกล้าหาญในการต่อสู้ของวัวกระทิงและนักสู้วัวกระทิง หรือ โตแรโร ( Torero ) โดยนักสู้วัวกระทิงนี้มีสถานะที่เป็นเหมือนกับวีรบุรุษของชาติ เหมือนกับ นักฟุตบอลของประเทศเลยทีเดียว งานเทศกาลนี้ไม่จำเป็นต้องชมการต่อสู้วัวกระทิงเท่านั้น ยังมีกิจกรรมมากมายที่ทำให้งานเทศกาลที่เมืองนิมส์มีความรื่นเร่งเช่น การแสดงดนตรีตามถนนสายต่างๆ ภายในเมืองเป็นต้น



วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

โคขุนโพนยางคำ

โคขุนโพนยางคำป็นเนื้อโคคุณภาพสูงจากหมู่บ้านโพนยางคำ ตำบลโนนหอม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร โคเป็นโคเนื้อลูกผสมไทย-ฝรั่งเศส โดยมีการตกลงจัดตั้งเป็นสหกรณ์โพนยางคำขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 ปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างมากทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ แม้จะมีราคาสูงกว่าเนื้อโคปกติก็ตาม โคขุนโพนยางคำมีที่มาจากโคเนื้อลูกผสมไทย-ฝรั่งเศส เกิดจากการผสมเทียมโดยใช้น้ำเชื้อจากพ่อ-แม่พันธุ์โคเนื้อ 3 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ชาโรเลย์ส (Charolais) ถิ่นกำเนิดประเทศฝรั่งเศส เป็นสายพันธุ์หลัก, พันธุ์ซิมเมนทอล (Simmental) ถิ่นกำเนิดประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และพันธุ์ลิมูซีน (Limusin) ถิ่นกำเนิดประเทศฝรั่งเศส
หลังจากลูกโคสายเลือดผสมมีอายุประมาณ 2 ปีแล้ว ก็จะเข้าสู่วิธีการ "ขุนโค" โดยจัดการถ่ายพยาธิ ฉีดวัคซีน และตอนก่อนที่จะนำเข้าคอก ทางสหกรณ์ใช้เทคนิคการให้โคฟังเพลงเพื่อให้วัวกินอาหารได้มาก โดยเชื่อว่าเนื้อวัวที่ได้จะนุ่ม เลี้ยงด้วยอาหารธรรมชาติเป็นหลัก แบ่งเป็นอาหารหยาบที่ใช้หญ้าหรือฟาง เสริมด้วยอาหารสูตรพิเศษที่ใช้ธัญพืชในการผลิต ซึ่งเชื่อกันว่าเนื้อโคจะมีกลิ่นหอมและรสหวานยิ่งขึ้น และที่คอกวัวนั้นมีการดูแลความสะอาดเป็นอย่างดี ทำความสะอาดพื้น เก็บมูล อาบน้ำวัว แปรงขัดขน ให้วัวกินอาหารได้มากขึ้น ซึ่งวิธีการดังกล่าวช่วยย่นระยะเวลาการขุนโคจากเดิมประมาณ 1 ปี ลงเหลือ 8-9 เดือน
เมื่อขุนโคเสร็จแล้วก็นำมาชำแหละในโรงฆ่ามาตรฐาน แล้วนำไปเก็บบ่มนาน 7 วัน ก่อนจะมีการให้คะแนนไขมันแทรก แล้วตัดแบ่งชิ้นส่วนและกำหนดเรียกชื่อตามแบบฝรั่งเศส 17 ส่วน ใช้มาตรฐานของฝรั่งเศส ปัจจุบันโคขุนโพนยางคำได้รับความนิยมทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ตลาดเนื้อโคชำแหละในบรรจุภัณฑ์ส่วนใหญ่อยู่ที่กรุงเทพมหานคร มีตัวแทนจำหน่ายต่างประเทศที่จังหวัดปทุมธานี มีสหกรณ์จำหน่ายในจังหวัดสกลนคร ปัจจุบันสามารถผลิตโคได้ 55 ตัวต่อวัน ชำแหละสัปดาห์ละ 2 วัน จากความสำเร็จของโคขุนโพนยางคำ ทำให้มีการแอบอ้างโดยร้านค้าหลายแห่ง ซึ่งถือเป็นการหลอกลวงผู้บริโภค โคขุนโพนยางคำจริงจะมีป้ายรับรองมาตรฐานของสหกรณ์ติดอยู่หน้าร้าน
อาชีพโคเนื้อในปัจจุบันได้รับความนิยมมากขึ้น และรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุน ชาวบ้านผู้เลี้ยงโคขุนคนหนึ่งบอกว่า ตนได้กำไรจากการเลี้ยงโคขุนโพนยางคำปีละกว่า 300,000-350,000 บาท