วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2561

อาหารขึ้นชื่อของฝรั่งเศส

อาหารขึ้นชื่อของฝรั่งเศส
ครัวซอง ( croissant) คือขนมอบชนิดหนึ่งที่กรอบ ชุ่มเนย และโดยทั่วไปจะมีลักษณะโค้งอันเป็นที่มาของชื่อ “croissant” ซึ่งในภาษาฝรั่งเศสหมายถึง “จันทร์เสี้ยว” บางทีก็ถูกเรียกว่า crescent roll (โรลจันทร์เสี้ยว)การทำครัวซองค์จะต้องใช้แป้งพายชั้น (puff pastry – พัฟ เพสทรี่) ที่ผสมยีสต์ นำมารีดให้เป็นแผ่น วางชั้นของเนยลงไป พับและรีดให้เป็นแผ่นซ้ำไปมา ตัดเป็นแผ่นสามเหลี่ยม นำไปม้วนจากด้านกว้างไปด้านแหลม บิดปลายให้โค้งเข้าหากัน อบโดยใช้ไฟแรงให้เนยที่แทรกอยู่เป็นชั้นดันแป้งให้ฟูก่อน จึงค่อยลดไฟลงไม่ให้ไหม้

ครัวซอง
เมดิเตอเรเนียนคีช

คีช ( quiche) เป็นอาหารจานอบชนิดหนึ่งโดยมีส่วนประกอบหลักคือ ไข่ นม หรือ ครีม ถึงแม้ว่าคีชจะมีลักษณะคล้ายพายแต่คีชถูกจัดเป็นอาหารคาว โดยในคีชอาจมีส่วนประกอบอื่นเช่น เนื้อสัตว์ ผัก เนยแข็ง ได้

ถึงแม้ว่าคีชจะมีส่วนประกอบหลายอย่างคล้ายอาหารประเภทพาสตา แต่ไม่ถูกจัดว่าเป็นส่วนหนึ่งของพาสตา


เมดิเตอเรเนียคีซ
ขนมปังฝรั่งเศส

บาเกต ( baguette) หรือ ขนมปังฝรั่งเศส เป็นขนมปังมีลักษณะรูปทรงเป็นแท่งยาวขนาดใหญ่ เปลือกนอกแข็งกรอบ เนื้อในนุ่มเหนียว และเป็นโพรงอากาศ มักนำมาหั่นเฉียงเป็นแผ่นหนา เพื่อรับประทานกับซุป ปาดเนยสด หรือประกอบทำเป็นแซนด์วิช


ปาเกต
ปาเตหลายหลายชนิดคู่กับแตร์รีน
ปาเต ( pâté) เป็นอาหารยุโรปประเภทหนึ่ง ในภาษาฝรั่งเศสหมายถึงเนื้อบดผสมไขมัน ปาเตโดยทั่วไปมีลักษณะเป็นซอสสำหรับทา ทำจากเนื้อบดละเอียดหรือส่วนผสมของเนื้อและตับบดหยาบ ๆ และมักผสมไขมัน ผัก สมุนไพร เครื่องเทศ หรือไวน์ เป็นต้น
ในประเทศฝรั่งเศสและประเทศเบลเยียม ปาเตอาจใช้เป็นไส้พายหรือขนมปังแถว เรียก “ปาเตอ็องกรูต” (ฝรั่งเศส: pâté en croûte) หรือใช้อบด้วยแตร์รีนหรือแม่พิมพ์แบบอื่น เรียก “ปาเตอ็องแตร์รีน” (ฝรั่งเศส: pâté en terrine) ปาเตประเภทที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ “ปาเตเดอฟัวกราส์” (ฝรั่งเศส: pâté de foie gras) ทำจากตับของห่านที่ขุนจนอ้วน คำว่า “ฟัวกราส์อองตีเยร์” (ฝรั่งเศส: foie gras entier) หมายถึง ตับห่านธรรมดาที่ได้รับการปรุงสุกและหั่นเป็นแผ่น ไม่ใช่ปาเต
ส่วนในประเทศฮอลแลนด์ ประเทศเยอรมนี ประเทศฟินแลนด์ ประเทศฮังการี ประเทศสวีเดน และประเทศออสเตรีย ปาเตที่ทำจากตับบางชนิดจะมีลักษณะอ่อนยวบ โดยมากเป็นไส้กรอกที่ใช้ทาได้ ภาษาดัตช์เรียก “leverworst” ภาษาเยอรมันเรียก “leberwurst”
ฟัวกรา เสิร์ฟแบบปิกนิกพร้อมขนมปัง

ฟัวกรา ( Foie gras ) แปลเทียบเคียงว่า fat liver คือตับห่านหรือเป็ดที่ถูกเลี้ยงให้อ้วนเกิน ฟัวกราได้ชื่อว่าเป็นอาหารฝรั่งเศสที่ดีที่สุด เช่นเดียวกับทรัฟเฟิล มีลักษณะนุ่มมันและมีรสชาติที่แตกต่างจากตับของเป็ดหรือห่านธรรมดา
ใน พ.ศ. 2548 ทั่วโลกมีการผลิตฟัวกราประมาณ 23,500 ตัน ในจำนวนนี้ ประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้ผลิตมากที่สุดคือ 18,450 ตัน หรือร้อยละ 75 ของทั้งหมด โดยร้อยละ 96 ของฟัวกราจากฝรั่งเศสมาจากตับเป็ด และร้อยละ 4 มาจากตับห่าน ประเทศฝรั่งเศสบริโภคฟัวกราใน พ.ศ. 2548 เป็นจำนวน 19,000 ตัน
ประเทศฮังการีผลิตฟัวกรามากเป็นอันดับสอง และส่งออกมากเป็นอันดับหนึ่ง คือ 1,920 ตันใน พ.ศ. 2548 โดยเกือบทั้งหมดส่งออกไปที่ฝรั่งเศส

ฟัวกรา
ชามที่มีราทาทุยและขนมปังเคียงข้าง
ราทาทุย ( Ratatouille ) เป็นอาหารพื้นเมืองของฝรั่งเศส ในเขต Provençal โดยมีลักษณะเป็นสตูว์ผัก มีต้นกำเนิดมาจากเมือง Nice ทานตอนใต้ของฝรั่งเศส อาหารชนิดนี้มีชื่อเต็มว่า ratatouille niçoise

ราทาทุย
รูปแบบของอาหาร

คำว่า ratatouille มาจากภาษาอ็อกซิตันว่า “ratatolha” ราทาทุยปัจจุบันพบเห็นได้ที่ Occitan Provença และ Niça โดยมักจะทำในหน้าร้อนโดยใช้ผักในฤดูร้อน Ratatolha de Niça สูตรดั้งเดิมนั้นจะใช้เพียงแค่ ซุชีนี่, มะเขือเทศ, พริกหยวกแดงและเขียว, หัวหอม, และกระเทียม ราทาทุยในปัจจุบันจะมีการใส่มะเขือลงไปในส่วนผสมด้วย

วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

วันชาติฝรั่งเศส Le 14 Juillet กิจกรรมต่างๆในประเทศฝรั่งเศส

Google Doodle วนชาตฝรงเศส
วันชาติฝรั่งเศส Le 14 Juillet 
 
วันนี้กูเกิลร่วมเฉลิมฉลอง วันชาติฝรั่งเศส ถ้าใครอยู่ฝรั่งเศสเปิดกูเกิลขึ้นมาก็เห็น Google Doodle ของที่นี่เป็นวันชาติฝรั่งเศส หรือที่เรียกอย่างเป็นทางการในภาษาฝรั่งเศสว่า « La fête nationale française » ซึ่งแปลว่างานเฉลิมฉลองแห่งชาติ หรือที่คนฝรั่งเศสเรียกกันย่อๆ ว่า Le « 14 Juillet »
 
เดิมทีเมื่อปี ค.ศ. 1790 มีการเรียกวันที่ 14 กรกฏาคม ว่า « Fête de la fédération » หรือวันบัสตีย์ ซึ่งเป็นวันครบรอบ 1 ปีในการโจมตีคุกบัสตีย์  (Bastilles) เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1789 ซึ่งในวันนั้นถือว่าเป็นสิ้นสุดการปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของพระเจ้าหลุยส์ ที่ 16 กษัตริย์ราชวงศ์บูร์บงส์ (Bourbons) องค์สุดท้าย บางคนอาจจะเรียกว่า วันบัสตีย์ แต่คนฝรั่งเศสไม่ค่อยเรียกกันนะคะ หลังจากนั้น 100 ปีต่อมา ในปี ค.ศ. 1880 มีการลงเสียงในรัฐสภา (L’Assemblée Nationale) และรัฐบาลฝรั่งเศสก็ประกาศให้วันที่ 14 กรกฎาคม ของทุกปีเป็นวันชาติของฝรั่งเศส
กิจกรรมสำคัญๆ วันชาติฝรั่งเศส 
 
วนชาตฝรงเศส La Patrouille de France
 
Les défilés (การเดินสวนสนาม)
 
ทุกวันที่ 14 กรกฎาคม จะมีการเดินสวนสนามจาก Arc de triomphe de l'Étoile หรือที่เรียกกันว่าประตูชัยฝรั่งเศส  เคลื่อนมาตามฌ็องเซลิเซ่จนกระทั่งไปสิ้นสุดที่ Place de la Concorde (จตุรัสกงกอร์ด) เป็นจตุรัสที่อยู่กลางกรุงปารีส ซึ่งการเดินสวนสนามจะเริ่มต้นเวลา 10.00 นาฬิกา โดยในการเดินสวนสนามทุกปีจะมีนักเรียนทหารจากโรงเรียนทหารหลายแห่ง รวมทั้งทหารราบ  ทหารยานยนต์  รวมถึงหน่วยทหารจากประเทศพันธมิตรของฝรั่งเศส ที่ตื่นตาตื่นใจมาที่สุดเห็นจะเป็นอากาศยาน หรือฝูงบินจาก ปาทรูย เดอ ฟร็องซ์ (La Patrouille de France) ที่บินแสดงแสนยานุภาพอยู่บนท้องฟ้ารวมทั้งการพ่นสีเป็นรูปธงชาติฝรั่งเศสที่สวยงามมาก
วนชาตฝรงเศส Les feux dartifice
 
Les feux d’artifice (การจุดพลุและดอกไม้ไฟ)
 
ตกกลางคืนก็จะมีเฉลิมฉลองด้วยการจุดพลุและดอกไม้ไฟที่หอไอเฟลและตามสถานที่สำคัญต่างๆ ทั่วประเทศ 
หลังจากรู้ประวัติพอคร่าวๆ แล้วเราก็มารู้จักกับคำศัพท์ภาษาฝรั่งเศสที่เกี่ยวกับ La fête de quatorze juillet กันนะคะ
 
La Marseillaise (Hymne National)
 
Marseillaise เป็นชื่อเมืองที่อยู่ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส หลายคนอาจจะสงสัยว่าแล้วทำไมเพลงชาติของฝรั่งเศสถึงได้ชื่อว่า « La Marseillaise » ลามาร์แซแยซ เป็นชื่อเพลงชาติของฝรั่งเศส (hymne national) ที่ประพันธ์คำร้องและทำนองโดย Claude Joseph Rouget de Lisle ในปี ค.ศ.1972 เดิมมีชื่อว่า Chant de guerre de l'Armée du Rhin แปลว่าเพลงมาร์ชกองทัพลุ่มน้ำไรน์ โดยโกลด โฌแซ็ฟ รูเฌ เดอ ลีล แต่งเพลงนี้ขึ้นมาเพื่อจอมพลท่านหนึ่งที่นำกองพันทหารเคลื่อนทัพมาจากเมืองมาร์แซย์ และมีการขับร้องเพลงนี้ในขณะที่กองพันทหารกำลังเดินแถวเข้ามายังกรุงปารีส และรูเฌ เดอ ลีล ขับร้องเพลงนี้เป็นครั้งแรกในคืนที่  25 เมษายน 1972 ที่เมืองสตราบูร์ก แคว้นอัลซาส เมื่อฝรั่งเศสประกาศสงครามกับออสเตรีย
 
Le drapeau tricolore
 
แปลว่าธงชาติฝรั่งเศส ซึ่งจะมี 3 สีคือ น้ำเงิน ขาว แดง (bleu-blanc-rouge) เดิมทีก่อนจะมีการปฏิวัติในปี ค.ศ. 1789 นั้น ธงสีน้ำเงินและสีแดงเป็นสัญลักษณ์ของกรุงปารีส ส่วนสีขาวเป็นสัญลักษณ์ของกษัตริย์ ราชวงศ์บูร์บงส์ (Bourbons)
คนฝรั่งเศสจะมีความผูกพันกับธงชาติของพวกเขามาก เพราะกว่าจะมาเป็น République Française (RF) นั้นต้องผ่านการต่อสู้และการปฏิวัติครั้งยิ่งใหญ่ ความหมายของแต่ละสีในธงชาติฝรั่งเศสจึงหมายถึง คำขวัญประจำชาติฝรั่งเศส (La devise de la République) ได้แก่ Liberté - Egalité - Fraternité 
- สีขาว หมายถึง Liberté หรือเสรีภาพ 
- สีน้ำเงิน หมายถึง Egalité หรือความเสมอภาค ถือว่าทุกคนมีความเสมอภาคกัน ไม่ว่าหญิงหรือชาย รวยหรือจน ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจที่จะเห็นท่านประธานาธิบดีถูกนำมาวิพากษ์วิจารณ์ หรือแม้กระทั่งการภาพการ์ตูนล้อเลียน ถือว่าเป็นสิ่งที่ทำได้โดยไม่ผิดกฏหมาย
- สีแดง หมายถึง Fraternité ภราดรภาพ หมายถึงความเป็นพี่น้อง มีอะไรก็ควรที่จะแบ่งปันกัน
      นอกจากนี้แล้วเราจะเห็นสีของธงชาติฝรั่งเศสในเหตุการณ์สำคัญๆ เช่นเมื่อครั้งที่ผู้ก่อการร้ายโจมตีกรุงปารีส เฟคบุคจึงให้ผู้ใช้สามารถนำสีธงชาติฝรั่งเศสมาใส่ในรูปโปรไฟล์เพื่อเป็นการไว้อาลัย และแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ถ้าเราเห็นเชฟชาวฝรั่งเศสใส่เสื้อเชฟที่คอเป็นสีน้ำเงิน ขาว แดง นั่นก็แสดงเชฟคนนั้นผ่านการแข่งขันระดับประเทศมาแล้ว
วนชาตฝรงเศส Marianne
Marianne
ผู้หญิงที่ถือธงชาติฝรั่งเศสในภาพวาดก็ถือว่าเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของ République Française ที่แสดงถึงความมีเสรีภาพ ชื่อ Marianne มาจากสองชื่อที่ได้รับความนิยมมากในฝรั่งเศสยุคนั้นก็คือ Marie และ Anne เราจะเห็นรูป Marianne บนเอกสารราชการ หรือที่ทำการของราชการในฝรั่งเศส ถ้าสังเกตุจะเห็นว่าเธอสวมหมวก phrygien ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของชาวปารีเซียง 
 
Un jour férié
แปลว่าวันหยุดราชการ ปรกติคนฝรั่งเศสจะไม่ทำงานกันในวันนี้ ร้านค้าต่างๆ ส่วนมากจะปิดกัน แต่ถ้ามีการทำงานก็จะได้รับค่าจ้างเป็นสองเท่า แต่มีคนบางกลุ่มในฝรั่งเศสที่มีการทำงานกันทุกวัน เช่น พนักงานเก็บขยะ ที่ทั้งปีพวกเขาจะหยุดทำงานแค่สองวันเท่านั้น คือในวันที่ 1 พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันแรงงาน และอีกวันก็คือ วันคริสต์มาส
 
Bal du 14 Juillet 
Bal คืองานเลี้ยงเต้นรำ Bal du 14 Juillet หมายถึงงานเลี้ยงฉลองที่มีการเต้นรำกันอย่างสนุกสนานเกือบทั้งคืน บางบ้านก็อาจจะฉลองวันชาติด้วยการทาน des cuisses de grenouille หรือขากบอบเนยและเล่นหีบเพลง (l’accordéon) ซึ่งเป็นเครืองดนตรีที่นิยมกันมากจนเป็นเหมือนสัญลักษณ์เสียงดนตรีในปารีส

Défilé du 14 Juillet 2016


วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

le Festival de Cannes

     ชื่อเสียงของ คานส์ (Cannes) โด่งดังในฐานะเมืองหลวงแห่งโลกภาพยนตร์ เป็นสถานที่จัดเทศกาลภาพยนตร์ ที่รู้จักกันทั่วโลกทั้งภาพยนตร์แบบปกติ การประกวดผลงานโฆษณาทุกประเภท และแม้กระทั่งหนังผู้ใหญ่ก็ใช้เมืองคานส์เป็นสถานที่จัดงานประกวดรางวัล


     เมืองคานส์ อยู่ทางภาคใต้ฝั่งตะวันออกของฝรั่งเศส (France) ติดกับทะเลเมดิเตอเรเนียน อยู่ในภูมิภาคที่เรียกว่า “โกต ดาซูร์” เป็น ดินแดนแห่งการพักผ่อน ไม่เคยมีฤดูหนาวที่หนาวจับจิต มีเมืองอื่นๆ เรียงราย ติดต่อกัน ทั้งเมือง อองตีบส์ นีซ แซ็งต์-ฌอง-กัป-แฟราต์ วิลฟรองช์-ซูร์-แม ทั่วโลกรู้จักกันดีในชื่อ “ริเวียร่า” นั่นเอง

เมืองแห่งนี้มีทิวทัศน์สวยงาม ทั้งภูเขาและท้องทะเล หาดทรายที่ทอดยาวเหยียด ท่ามกลาง บรรยากาศหรูหรามีชีวิตชีวาตลอดเวลา ในช่วงเทศกาลภาพยนตร์ที่มักจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม จะมีนักเดินทางจากทุกมุมโลกมาเยือนเมืองนี้ ถึงแม้ว่าจะมีเทศกาลทางวัฒนธรรมระดับโลกที่นี่บ่อยครั้ง แต่ก็กลมกลืนกับหมู่บ้านเล็กๆ วิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่นเป็นอย่างดี

เทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ (อังกฤษ: Cannes Film Festival ; ฝรั่งเศส: le Festival de Cannes) เป็นเทศกาลภาพยนตร์ที่มีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1946 ถือเป็นเทศกาลภาพยนตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกเทศกาลหนึ่ง และมีอิทธิพลมากที่สุดรวมถึงชื่อเสียง เทียบเคียงกับเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวนิส และเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเบอร์ลิน งานจัดขึ้นประจำปี ราวเดือนพฤษภาคม ที่ Palais des Festivals et des Congrès ในเมืองกาน ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส


รางวัลที่ได้รับคือ รางวัลปาล์มทองคำ 
     ก่อนหน้านี้จนถึงปี ค.ศ. 1954 คณะกรรมการของเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์มีการมอบรางวัล "Grand Prix of the International Film Festival" ให้กับภาพยนตร์ที่ดีที่สุด โดยรางวัลจะมีการออกแบบใหม่ทุกปีโดยศิลปินร่วมสมัยในแต่ละปี จนสิ้นสุดปี 1954 คณะกรรมการบริหารเทศกาลเชิญช่างอัญมณีมาออกแบบปาล์ม เพื่ออุทิศให้กับตราอาร์มของเมืองคานส์ แบบดั้งเดิม ออกแบบโดยลูเซียน ลาซอน และแท่นประติมากรรมออกแบบโดยศิลปินชื่อ เซบาสเตียง
ในปี ค.ศ. 1955 รางวัลปาล์มทองคำครั้งแรกมองให้กับเดลเบิร์ต มานน์ให้กับผลงานภาพยนตร์เรื่อง Marty รางวัลปาล์มทองคำถือเป็นรางวัลสูงสุดของเทศกาลจนกระทั่งปี ค.ศ. 1964 เมื่อเทศกาลได้นำรางวัล Grand Prix กลับมาใช้ใหม่เนื่องจากปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์กับเรื่องปาล์ม จนปี 1975 รางวัลปาล์มทองคำกลับมาใหม่อีกครั้งและถือเป็นสัญลักษณ์ของเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ มีการมอบรางวัลให้กับผู้กำกับภาพยนตร์ในทุก ๆ ปี สำหรับภาพยนตร์ยาวที่เข้าร่วมประกวดอย่างเป็นทางการ
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1975 ได้มีการออกแบบตัวรางวัลใหม่หลายครั้ง เริ่มตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1980 โดยในปัจจุบัน ปาล์มทำจากทองคำ 24 กะรัต ในแม่พิมพ์ขี้ผึ้งติดเข้ากับที่รองที่เป็นคริสตัล บรรจุในกล่องหนังโมร็อกโคสีน้ำเงิน โดยการประกาศรางวัลจะประกาศเป็นรางวัลสุดท้ายของเทศกาล โดยประธานกรรมการตัดสินในแต่ละปีเป็นผู้ประกาศผลและมอบรางวัล

วันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

เที่ยวฝรั่งเศสฤดูหนาว ตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม ดีมั้ย เป็นยังไงมาดูกัน




เที่ยวฝรั่งเศสฤดูหนาว (Travel France in winter)
ฤดูหนาวเป็นช่วงที่หลายๆคนรู้กันดี ว่าเป็นช่วง Low Season ของฝรั่งเศส ด้วยอากาศที่หนาวมากๆ แถมยังมีเวลาเที่ยวกลางวันน้อยกว่าทุกฤดูกาล เพียงแค่ 5 โมงเย็นก็เริ่มมืดซะแล้ว แต่เอาจริงๆแล้วเรียกได้ว่าเป็นนาทีทองของการเที่ยวฝรั่งเศสในราคาที่ประหยัดสุดๆ เพราะช่วงนี้จะมีโปรโมชั่นลดราคาทั้งตั๋วเครื่องบินและที่พักออกมาให้เลือกแบบละลานตา แถมไม่ต้องอารมณ์เสียไปกับจำนวนนักท่องเที่ยวปริมาณมากๆเวลาไปสถานที่เที่ยวยอดฮิตต่างๆ ถ่ายรูปหามุมสวยกันได้จุใจ อีกทั้งยังสามารถเล่นกีฬาบนหิมะได้อย่างสนุกสานโดยรายละเอียดของแต่ละเดือนในฤดูหนาว มีดังนี้

ถ้าไปเที่ยวฝรั่งเศสปลายเดือนธันวาคม
ฤดูหนาวจะเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม เป็นต้นไป ถือได้ว่าเป็นช่วงที่คึกคักอบอวลไปด้วยบรรยากาศของคริสต์มาสและวันขึ้นปีใหม่ ห้างร้านและถนนหลายสายจะประดับประดาไปด้วยไฟสว่างไสวสวยงาม อุณหภูมิจะต่ำสุดประมาณ -4 องศา สูงสุด 10 องศา ช่วงปลายๆเดือนอาจมีเมฆมาก รวมทั้งอาจมีฝนตกและหิมะโปรยปรายเป็นระยะๆ เสื้อผ้าควรมาแบบจัดเต็มทั้งเสื้อกันหนาว ลองจอนหรือฮีตเทค ถุงเท้าขน Wool ถุงมือ ที่ปิดหู รองเท้าหุ้มส้น และชุดกันฝนไปซักชุด ช่วงนี้ยังไม่ถือว่าหนาวสุด แต่ควรศึกษาเวลาเปิด-ปิดเผื่อไว้ซักนิด เพราะบางแห่งจะปิดเร็วขึ้น ช่วงวันที่ 24 – 25 ก็จะเต็มไปด้วยบรรยากาศสังสรรค์ของเทศกาลคริสต์มาส ที่มีการจัดตลาดคริสต์มาสในหลากหลายเมืองสำคัญๆ “อาทิ เมือง Strasbourg ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน – 31 ธันวาคม 2017  เมือง Colmar ตั้งแต่ 24 พฤศจิกายน – 31 ธันวาคม 2017 และบริเวณหอไอเฟล 1 ธันวาคม 2017 – 31 มกราคม 2017”  เมนูพิเศษในเทศกาลคริสต์ที่ขาดไม่ได้นั่นคือ เค้กขอนไม้ (Buche de Noel ) ขนมหวานแห่งวันคริสต์มาส ปัจจุบันมีหลากหลายรสชาติให้เลือกลิ้มลอง ถ้ามาช่วงวันที่ 31 ธันวาคมก็สามารถมาสัมผัสบรรยากาศการเคาท์เดาน์อย่างยิ่งใหญ่อลังการที่แลนด์มาร์กของกรุงปารีสอย่างที่หอไอเฟลหรือประตูชัย

ถ้าไปเที่ยวฝรั่งเศสเดือนเดือนมกราคม
ถือว่าเป็นช่วงที่เริ่มจะหนาวอย่างจริงจัง อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ -3 องศา สูงสุด 11 องศา เฉลี่ยอยู่ที่ 1-6 องศา มีหิมะโปรยปรายหลากหลายแห่ง ถ่ายรูปได้สวยสุดๆเพราะแลดูเหมือนเมืองแห่งหิมะเบาๆ อุปกรณ์ชุดกันหนาวควรจัดเต็ม ลองจอนหรือฮีตเทคสำคัญมากๆ เสื้อกันหนาวขนเป็ดติดมาซักหลายๆตัว ถุงมือ ถุงเท้าเน้นขน Wool ที่ให้ความอบอุ่นมากเป็นพิเศษ ที่ปิดหูก็ควรมีเพราะเวลาหนาวมากๆหูจะแข็งๆ เที่ยวในปารีสก็สบายคนไม่มาก คิวแต่ละที่รอไม่นาน ปารีสจะหนาวไม่ค่อยโหดบางปีก็มีหิมะตกบางทีก็ไม่มี มีเด่นๆอย่างเทศกาลเอพิพานี (Epiphanie) ที่จัดขึ้นทุกๆวันที่ 6 มกราคมของทุกปี นิยมทานขนม Galette des Rois ที่คล้ายๆพายผสมครัวซองค์ ซึ่งเป็นขนมที่จะทำออกขายเฉพาะช่วงนี้เท่านั้น

ถ้าไปเที่ยวฝรั่งเศสเดือนเดือนกุมภาพันธ์
นับว่าเป็นช่วงที่เมืองปารีสจะมีความโรแมนติกมากเป็นพิเศษ เนื่องด้วยในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นวันวาเลนไทน์ ซึ่งเต็มไปด้วยเหล่าคู่รักและการจัดอีเว้นท์เทศกาลวันแห่งความรักหลายๆที่ในมุมเมือง ช่วงนี้ช็อกโกแลตจะออกคอนเลคชั่นพิเศษๆสำหรับวันวาเลนไทน์เยอะมาก อากาศหนาวเย็นเรียกว่าต้องจัดหนักอุปกรณ์กันหนาวมาให้ครบ หลายๆคนที่ชื่นชอบการผจญภัยหรือกีฬาบนหิมะก็อาจะไปท่องเที่ยวตามเมืองที่มีสกีรีสอร์ต อย่างเมือง Morzine ที่ติดกับสวิตเซอร์แลนด์ มีสกีรีสอร์ทบนเทือกเขาแอลป์ แถมบ้านเรือนก็น่ารักเวลาปกคลุมด้วยหิมะฟูๆส่องประกายระยิบระยับงดงามเหมือนภาพฝัน หรือเมือง Chamonix ที่ติดกับสวิเซอร์แลนด์และอิตาลี ที่คนส่วนมากนิยมมาขึ้นภูเขา Mont Blanc อันแสนโด่งดัง พร้อมที่พักเก๋ๆอีกเพียบ โดยถ้าจะไปเยือนเมืองหนาวมากๆและสกีรีสอร์ต ที่ควรระวังนั่นคือรองเท้า ควรเลือกแบบรองเท้าร่องลึก ส่วนหัวกันน้ำที่เหมาะกับการลุยบนพื้นหิมะ แต่หากมองหาเทศกาลสนุกๆก็ต้องไปที่เมือง Nice เพราะมีการจัดงานคาร์นิวัลแห่งเมืองนีซสุดอลังการที่จัดในเดือนกุมภาพันธ์แบบยาวๆติดกันถึง 2 สัปดาห์ และยังมีเทศกาลกินเครป ที่จะจัดขึ้นทุกๆวันที่ 2 กุมภาพันธ์ประจำทุกปี ที่สายหวานจะถูกใจเพราะมีเครปสไตล์ฝรั่งเศสแท้ๆให้ลิ้มลองมากมาย ตามย่านการค้าหรือศูนย์การค้าก็อาจมีอีเว้นท์เกี่ยวกับเทศกาลเครปพร้อมการสาธิตการทำเครปตามธรรมเนียมเดิมชื่อว่า coup de poêle

ถ้าไปเที่ยวฝรั่งเศสเดือนเดือนมีนาคม
ฤดูหนาวจะสิ้นสุดอย่างเป็นทางการในวันที่ 20 มีนาคม อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ -3 องศา และสูงสุด 13 องศา ถึงแม้ว่าเดือนนี้ประเทศไทยจะร้อนกันแล้ว แต่ที่ฝรั่งเศสยังหนาวอยู่นะ ยิ่งถ้าเมืองบนที่สูงหรือในหุบเขาก็จะหนาวกว่านี้พอสมควร มาเที่ยวปารีสช่วงนี้คนก็ยังไม่เยอะมาก เดินสบายๆ มีฝนอยู่บ้าง นอกจากเสื้อกันหนาวและอุปกรณ์กันหนาวแล้วนั้น รองเท้าก็สำคัญ ควรเลือกรองเท้าที่มีพื้นกันลื่น กันน้ำ เผื่อช่วงพื้นที่ไหนมีหิมะละลาย ถ้าเดินในปารีสที่อาจมีวันหิมะตกบ้างแต่ไม่แรงนักก็เพิ่มรองเท้าร่องลึกๆสำหรับเดินบนพื้นหิมะเผื่อไว้ซักครู่ แต่ถ้าไปเที่ยวตามเมืองทางเหนือในวันที่หิมะตกหนักๆควรมีร่มแข็งแรงๆซักคัน เพื่อป้องกันหิมะเข้าหน้าเข้าตา บรรยากาศการท่องเที่ยวไม่ค่อยคึกคัก หากก็มีเสน่ห์ตรงอากาศหนาวๆที่แต่งตัวได้แบบเต็มสตรีมได้ ยิ่งวันไหนหิมะที่ปารีสตกแถวๆหอไอเฟลหรือแลนด์มาร์กดังๆถ่ายรูปออกมาอย่างงาม

วันศุกร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2561

ลุควิค ฟาน เบโธเฟน (Ludwig van Beethoven)

ลุดวิก ฟาน เบโธเฟน (Ludwig van Beethoven, Germany 1770 – 1827)



ชีวประวัติ
     ลุควิก ฟาน เบโธเฟน  กำเนิดในครอบครัวนักดนตรีที่เมืองบอนน์ (Bonn) ประเทศเยอรมันนี เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1770 และได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 1827 ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย
เบโธเฟนเติบโตมากับสภาพแวดล้อมทางดนตรี จึงทำให้เขารักงานด้านดนตรี เบโธเฟนเริ่มศึกษาดนตรี เช่น เปียโน, ไวโอลินและออร์แกน จากบิดาของเขา โจฮันน์ ฟาน เบโธเฟน (Johann van Beethoven) ตั้งแต่อายุ 4 ปี ดังรูปที่ 1 และได้ออกแสดงคอนเสิร์ตครั้งแรก ตอนอายุ 8 ปี ได้รับความชื่นชมจากผู้ฟังเป็นอย่างมาก

รูปที่1 เบโธเฟนวัยเด็ก


Neefe
รูปที่ 2 Christine Gottlob Neefe
       เบโธเฟนได้เริ่มเรียนดนตรีอย่างจริงจังกับ คริสเตียน กอทท์ลอบ นีฟ (Christine Gottlob Neefe) ดังรูปที่ 2 ได้เริ่มงานด้านดนตรีในตาแหน่งนักออร์แกนประจำโบสถ์ นักเปียโนและนักไวโอลินในตำแหน่งผู้ช่วยของนีฟ และต่อมาได้รับตาแหน่งหัวหน้าวงของวงดนตรีในสานักของเจ้าเมืองบอนน์ เบโธเฟนเริ่มประพันธ์เพลงสาหรับเปียโนเมื่ออายุ 12 ปี และเมื่ออายุ 16 ปี เบโธเฟนเดินทางมากรุงเวียนนาเพื่อที่จะฝึกหัดดนตรีและเล่นดนตรีให้กับโมซาร์ท ซึ่งเมื่อโมซาร์ทฟังแล้วได้กล่าวว่า…. จงคอยดูเด็กคนนี้ให้ดี วันหนึ่งเขาจะดังก้องไปทั่วโลก (“Keep your eyes on him; somebody he will give the world something to talk about”) โมซาร์ทมีความชื่นชมในความสามารถทางด้านดนตรีของเบโธเฟน และยังกล่าวอีกว่าเบโธเฟนจะประสบความสาเร็จในโลกดนตรีต่อไป
       หลังจากนั้นเบโธเฟนเดินทางกลับมายังเมืองบอนน์และทางานในเป็นนักออร์แกนและไวโอลิน ในขณะเดียวกันก็ประพันธ์เพลงไปด้วย จนกระทั่งอายุ 22 ปี เบโธเฟนย้ายมาอยู่ที่กรุงเวียนนาด้วยความตั้งใจที่จะหาชื่อเสียงในการเล่นดนตรีและประพันธ์เพลง เขามีโอกาสได้ศึกษาดนตรีกับ Franz Joseph Haydn, Johann Albrechtsberger (1736 – 1809), Johnn Schenk (1753 – 1836) และ Antonio Salieri (1750 – 1825) เบโธเฟนมีความตั้งใจที่จะมุ่งมั่นหาชื่อเสียงในการเล่นดนตรีและประพันธ์เพลงต่างๆ ตามความสามารถของเขาให้ดีที่สุด ซึ่งลักษณะงานดนตรีของเบโธเฟนเต็มไปด้วยลีลาและความรู้สึกที่ระบายออกอย่างรุนแรงและงดงาม เบโธเฟนได้ตระเวนแสดงดนตรีตามแนวของเขาจนทำให้เขามีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั่วกรุงเวียนนา มีลูกศิษย์มาเรียนดนตรีกับเขามากขึ้น และด้วยความสามารถทางดนตรีของเบโธเฟน ทาให้ได้รับการอุปถัมภ์จากหมู่ชนชั้นสูงอยู่เรื่อยมา
       ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1800 เป็นต้นมา เบโธเฟนหันไปมุ่งเอาดีทางด้านการประพันธ์ และเริ่มประพันธ์เพลงที่สะท้อนถึงความรู้สึกนึกคิดที่เต็มไปด้วยการแสดงออกของอารมณ์อย่างชัดเจน เพลงของเขาแสดงออกมาอย่างเสรีและแหวกแนว ไม่ตรงกับแบบแผนและกฏเกณฑ์ จึงถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า…. “เป็นนักดนตรีที่นอกแบบแผน ทาให้เกิดอันตรายต่อศิลปะทางดนตรี” แต่อย่างไรก็ตามผลงานก็ยังถูกซื้อและตีพิมพ์จาหน่ายหมดอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นไม่นานเบโธเฟนต้องประสบกับปัญหาเกี่ยวกับระบบการได้ยิน เขาเริ่มมีอาการไม่ได้ยินเป็นระยะ
จนกระทั้งปี ค.ศ. 1819 เบโธเฟนได้หยุดการแสดงคอนเสิร์ตในที่สาธารณะและเริ่มเก็บตัวอยู่ที่เมืองเฮลิเกนสตัดท์ (Heiligenstadt) แต่ด้วยความเป็นอัจฉริยะทางดนตรี เบโธเฟนตั้งปณิธานว่า… “ฉันจะไม่ยอมสยบให้แก่ความเคราะห์ร้ายเป็นอันขาด” เบโธเฟนตัดสินใจเดินทางกลับมากรุงเวียนนาและได้สร้างสรรค์ผลงานทางดนตรีต่ออย่างมากมาย ตัวอย่างเช่น Symphony no. 3 (Eroica) เป็นบทแรกที่เบโธเฟนใส่อารมณ์และความรู้สึกอย่างรุนแรง โดยละทิ้งหลักเกณฑ์ยุคคลาสสิค แนวเพลงของไฮเดินและโมซาร์ทโดยสิ้นเชิง นับว่าเป็นสัญลักษณ์ของบทเพลงยุคโรแมนติก
       ในงานแสดงคอนเสิร์ตครั้ง Symphony no. 9 ปี ค.ศ. 1824 ณ กรุงเวียนนา เบโธเฟนทาหน้าที่กากับเพลงและควบคุมวงดนตรีด้วยตนเอง ดังรูปที่ 3 สร้างความประทับใจและได้รับเสียงปรบมืออย่างล้นหลามและนี่คือการปรากฏตัวต่อหน้าสาธารณชนครั้งสุดท้ายของเขา  เบโธเฟนเสียชีวิตด้วยอายุเพียง 57 ปี แต่อย่างไรก็ตามผลงานของเบโธเฟนได้รับการยกย่องในเรื่องการสร้างสรรค์ผลงานทางดนตรีในรูปแบบใหม่จากยุคคลาสสิคมาสู่ยุคโรแมนติก ด้วยความตั้งใจและความเป็นอัจฉริยะทางด้านดนตรี เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ประพันธ์เพลงที่ยิ่งใหญ่ตลอดกาล
ลักษณะและผลงานทางดนตรี
       หลังจากประสบปัญหาเกี่ยวกับการได้ยิน เบโธเฟนได้หันมามุ่งมั่นในด้านการประพันธ์เพลงมากขึ้น เขามีแนวคิดและพัฒนาในการประพันธ์มาเรื่อยๆจนได้รูปแบบใหม่ คือยังคงใช้รูปแบบและเทคนิคของการประพันธ์เพลงในยุคคลาสสิค แต่ได้เพิ่มพลังความเข้มข้นลงไป ทาให้ดนตรีในสมัยที่ไฮเดินและโมซาร์ทประพันธ์ไว้เปลี่ยนมาเป็นรูปแบบใหม่
ลักษณะงานของเบโธเฟน คือ การใช้จังหวะขัด (Syncopation) และการใช้เสียงที่ไม่กลมกลืน (Dissonance) ในการสร้างความตึงเครียดและความตื่นเต้นในบทเพลง มีการใช้ช่วงกว้างของเสียง (range) และความดัง-ค่อย (dynamic) มีมากกว่าในเพลงยุคก่อนๆ เมื่อดังจะดังมาก และเมื่อเบาจะเบาจนแทบไม่ได้ยิน หลายครั้งเบโธเฟนใช้ความเงียบทาให้เกิดความตึงเครียดด้วย ส่งผลให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกและอารมณ์มากกว่าดนตรียุคคลาสสิค นอกจากนี้สิ่งที่เบโธเฟนใช้เพื่อทาให้เพลงมีพลังขึ้นมา คือ การเน้นเสียง (Accent) และการใช้แนวคิดเรื่องเกี่ยวกับรูปแบบจังหวะสั้นๆ ซ้าๆ ต่อเนื่องกันหลายๆ
ครั้ง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ Symphony no. 5 ในท่อนแรก เบโธเฟนยังใช้การประสานเสียงที่แตกต่างจากยุคคลาสสิคได้แก่ การใช้คอร์ดที่ไม่ใช่ Triad ขึ้นต้นบทเพลง เพื่อช่วยเพิ่มความมีพลัง ความหนักแน่นมากขึ้น ในการสร้างความตึงเครียดที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้นตั้งแต่ต้นเพลงเช่นนี้ ทาให้เพลงมีความยาวมากขึ้น เบโธเฟนจึงเป็นผู้ที่นารูปแบบคลาสลิคมาใช้ แต่ได้ขยายให้แต่ละตอนหรือบางตอนมีความยาวมากขึ้น ตัวอย่างเช่น Symphony No. 3 ที่มีความยาวประมาณ 50 นาที ในขณะที่ซิมโฟนีในสมัยของไฮเดินและโมซาร์ทมักมีความยาวประมาณ 25 – 35 นาทีเท่านั้น นอกจากนี้ในช่วงปิดท้าย (Coda) ของสังคีตลักษณ์โซนาตา เบโธเฟนได้พัฒนาแนวความคิดส่วนนี้จนเป็นส่วนที่สาคัญ มีแนวทานองใหม่เกิดขึ้นเพื่อทาให้บทเพลงจบลงอย่างสมบูรณ์ และยิ่งไปกว่านี้รูปแบบที่เบโธเฟนได้พัฒนาขึ้นอีกอย่าง คือ สเกิร์ตโซ (Scherzo) โดยทั่วไปในยุคคลาสสิคท่อนนี้จะใช้มินูเอต ซึ่งเป็นลักษณะของเพลงเต้นรา ที่มีลักษณะเร็ว สดใส ไม่หนักแน่นจริงจัง แต่สเกิร์ตโซของเบโธเฟนจะมีความหนักแน่น มีพลัง จริงจังและสง่างาม สิ่งที่เบโธเฟนพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยส่งเสริมพลังความเข้มข้น คือการเพิ่มเครื่องดนตรีแต่ละประเภทให้มากขึ้น วงออร์เคสตราในสมัยของเบโธเฟนจึงมีขนาดใหญ่กว่าเดิม ทาให้บทเพลงมีเสียงดังมากกว่าแต่ก่อน แสดงพลังความรู้สึกได้มากกว่า
       ผลงานของเบโธเฟนแบ่งได้เป็นสามระยะ ตามลักษณะดนตรีที่แตกต่างกัน ระยะแรก (1780 – 1802) ใช้รูปแบบการประพันธ์เพลงของดนตรียุคคลาสสิคอย่างเด่นชัด ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากไฮเดินและโมซาร์ท ระยะที่สอง (1802 – 1816) เบโธเฟนแสดงความเป็นตัวของตัวเองออกมาอย่างเด่นชัด รูปแบบการประพันธ์มีการพัฒนาอย่างสง่างามมากขึ้น ความยาวในแต่ละส่วนแต่ละตอนมีมากกว่าเพลงในยุคแรก วงออร์เคสตราปรับปรุงเพิ่มจานวนเครื่องดนตรีให้มากขึ้น เพราะต้องการแสดงถึงความมีพลัง ความยิ่งใหญ่ ชัยชนะ การประสานเสียงโดยใช้คอร์แปลกๆ มากขึ้น จัดได้ว่าเป็นผลงานเพลงที่แตกต่างจากยุคคลาสสิคอย่างชัดเจน ระยะที่สาม (1816 – 1827) เป็นช่วงที่เบโธเฟนเปลี่ยนแนวการประพันธ์ไป เนื่องจากต้องการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ขึ้นมา ผลงานในช่วงท้ายมักจะแสดงออกถึงความเข้มแข็ง ไม่นุ่มนวลมากนักและหลายบทเพลงไม่เป็นที่รู้จัก ผลงานของเบโธเฟนประกอบด้วย ซิมโฟนี 9 บท เปียโนคอนแชร์โต 5 บท ไวโอลินคอนแชร์โต 1 บท โอเปรา 1 เรื่อง สติงควอเตท 16 บท เปียโนโซนาตา 32 บทและผลงานสาคัญอีกจานวนมาก นับว่าเบโธเฟนเป็นผู้เชื่อมต่อระหว่างยุคคลาสสิคและยุคโรแมนติกเข้าด้วยกันอย่างแท้จริง
ตัวอย่างบทเพลงของเบโธเฟน
เพลง  Symphony no.3 (Eroica)


วันอังคารที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2560

Wine

ไวน์

ไวน์แดง (หน้า) และไวน์ขาว (หลัง) บนโต๊ะอาหาร
ไวน์ (อังกฤษwine) เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำจากองุ่นหรือผลไม้อื่นหมัก สมดุลเคมีธรรมชาติขององุ่นทำให้มันหมักโดยไม่ต้องเพิ่มน้ำตาล กรด เอ็นไซม์ น้ำหรือสารอาหารอื่น ยีสต์บริโภคน้ำตาลในองุ่นแล้วเปลี่ยนเป็นเอทานอลและคาร์บอนไดออกไซด์ พันธุ์ขององุ่นและสายพันธุ์ของยีสต์ที่ต่างกันทำให้ได้ไวน์คนละแบบ แบบที่รู้จักกันดีเกิดจากอันตรกิริยาที่ซับซ้อนยิ่งระหว่างการเจริญทางชีวเคมีของผลไม้ ปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องในการหมัก แหล่งที่ปลูก (terrior) และการระบุแหล่ง (appellation) ตลอดจนการแทรกแซงของมนุษย์ในกระบวนการโดยรวม

ประวัติแก้ไข


เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าไวน์เป็นเครื่องดื่มที่มีมาหลายพันปีแล้ว มีการค้นพบโถโบราณบรรจุเมล็ดองุ่นไร่ซึ่งมีอายุนับเนื่องขึ้นไปกว่า 8,000 ปี ก่อนคริสตกาล
นอกจากที่ประเทศอิหร่านแล้ว ยังมีการพบร่องรอยของเครื่องดื่มชนิดหนึ่งที่ได้จากกรรมวิธีการหมักแบบเดียวกับไวน์ในสมัย 7,000 ปีก่อนคริสตกาล ทางตอนเหนือของประเทศจีน
ในยุคอียิปต์โบราณ การเพาะปลูกองุ่นเพื่อทำไวน์มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบระเบียบมาก เทพต่าง ๆ ในตำนานเทพปกรณัม ทั้งโอซิริสของอียิปต์ เทพไดโอนีซุสของกรีก บัคคัสของโรมัน หรือกิลกาเมชของบาบิโลน ล้วนแล้วแต่เป็นเทพแห่งไวน์ นอกจากนั้น ไวน์ยังเป็นสัญลักษณ์ของพระโลหิตของพระเยซูเจ้าตามความเชื่อทางศาสนาคริสต์ ไวน์มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเป็นอันมากในช่วงสองร้อยปีหลัง ชาวโรมันในสมัยก่อนนั้นดื่มไวน์ที่มีรสฉุนจนต้องผสมน้ำทะเลก่อนดื่ม รสชาติของไวน์ดังกล่าวแตกต่างจากไวน์ในปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง
ในสมัยศตวรรษที่ 19 ไวน์ถือว่าเป็นเครื่องดื่มบำรุงกำลัง โดยคนงานที่รับจ้างเก็บเกี่ยวพืชผลจะดื่มไวน์ถึงวันละ 6-8 ลิตร และนายจ้างจะจ่ายไวน์ให้เป็นส่วนหนึ่งของค่าแรง เพราะสมัยนั้นน้ำยังไม่ค่อยสะอาดพอที่จะนำมาดื่มได้

เครื่องบิน concorde

คองคอร์ด

เครื่องบินคองคอร์ด
เครื่องบินคองคอร์ด (อังกฤษConcorde) เป็นเครื่องบินขนส่งชนิดมีความเร็วเหนือเสียง เป็นหนึ่งในสองแบบของเครื่องบินเร็วเหนือเสียงที่ใช้เป็นเครื่องบินโดยสาร และนำมาให้บริการในเชิงพาณิชย์ โดยใช้เวลาศึกษาวิจัยเป็นเวลา 7 ปี เครื่องคองคอร์ดต้นแบบเครื่องแรกบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 มีนาคม ค.ศ. 1969 ทดสอบและพัฒนาอีก 4 ปี โดยคองคอร์ดเครื่องแรกออกจากสายการผลิตและเริ่มบินทดสอบเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 1973 รวมตั้งแต่เริ่มโครงการจนนำมาผลิตใช้เวลากว่า 13 ปีเต็มใช้เงินในการพัฒนากว่า 1,000 ล้านปอนด์ [1]
เครื่องบินคองคอร์ดมีความเร็วปกติ 2,158กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเพดานบินสูงสุด 60,000 ฟุต (18.288กิโลเมตร) มีปีกสามเหลี่ยม
การบินเชิงพาณิชย์ของคองคอร์ด ดำเนินการโดยบริติชแอร์เวย์ (British Airways) และแอร์ฟรานซ์ (Air France) เริ่มต้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 1976 และสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 2003 และมีเที่ยวบิน “เกษียณอายุ” เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 2003 เที่ยวบินลอนดอน-นิวยอร์ก และปารีส-นิวยอร์ก ใช้เวลาเดินทางเฉลี่ยประมาณ 3 ชม.
เครื่องบินคองคอร์ด มีข้อจำกัดในการออกแบบด้านพลศาสตร์ ซึ่งส่วนหัวของเครื่องบินจะต้องเชิดขึ้น ส่งผลให้ทัศนวิสัยของนักบินไม่ดี ผู้ออกแบบได้แก้ไขโดยเพิ่มกลไกปรับส่วนหัวของเครื่องบิน ให้กดลงมา เพื่อให้นักบินมองเห็นสนามบินขณะเครื่องบินขึ้น ลงจอด และขณะอยู่บนแทกซี่เวย์ ส่วนหัวของคองคอร์ดปรับทำมุมกดได้ 12.5°
เครื่องบินคองคอร์ด มีทั้งสิ้น 20 ลำ เป็นเครื่องที่ใช้ในการพัฒนา 6 ลำ ใช้งานเชิงพาณิชย์ 14 ลำ ตก 1 ลำ